วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เช่าซื้อต่างกับขายเงินผ่อน

เช่าซื้อ กรรมสิทธิในสินทรัพย์ที่เช่าซื้อกับเจ้าของ (ผู้ให้เช่าซื้อ) จนกว่าผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อคบถ้วน เพราะผู้ให้เช่าซื้อนำทรัพย์สินออกมาให้เช่าโดยมีคำมั่นสัญญาว่าจะขายเท่านั้น ดังนั้นในระหว่างยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบผู้ซื้อเป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินเท่านั้นไม่ใช่เจ้าของ หากผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำจะมีความผิดทางอาญา
ซื้อขายเงินผ่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันที ฉะนั้นผู้ซื้อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในทันทีแต่มีข้อตกลงเรื่องการชำระราคาผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาเป็นงวดๆได้
ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญาเพราะไม่ใช่เงินคราวสุดท้ายเจ้าของทรัพย์ (ผู้ให้เช่าซื้อ) มีสิทธิอย่างไร?
กรณีตัวอย่าง
นาย ก. เช่าซื้อรถจากนาย ข. เป็นเงิน 60,000 บาท ตกลงผ่อนชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ทุกๆเดือน เงินเดือนละ 5,000 บาท รวม 12 เดือน นาย ก. ชำระค่าเช่า 11 เดือน ติดต่อกัน เป็นเงิน 55,000 บาท แล้ว นาย ก. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อในเดือนสุดท้าย เป็นเงิน 5,000 บาท นาย ข.จะมีสิทธิอย่างไรบ้าง ?
จากกรณีตัวอย่าง
นาย ข. เจ้าของรถยนต์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อรวม 11 เดือนที่ นาย ก. ได้ใช้มาแล้ว เป็นเงิน 55,000 บาท ได้ และมีสิทธิยึดรถยนต์คืนต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่งแล้ว กล่าวคือ นาย ข. จะยึดรถยนต์คืนได้ต่อเมื่อพ้นเดือนที่ 13 แล้ว

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ
การให้ประชาชนมีความรู้ความศึกษานั้น เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องกระทำ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้ให้สิทธิสำหรับคนพิการ คนด้อยโอกาส หรือผู้มีความสามารถพิเศษ มีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษอีกด้วย ดังนั้นรัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนเอกชน จัดการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะว่าการให้มีความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนที่เริ่มต้นศึกษาเล่าเรียน เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ย่อมเป็นบันไดไปสู่อาชีพต่าง ๆ ที่นักเรียนจะสามารถขวนขวายศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการโดยไม่ต้องให้นักเรียนหรือบิดามารดาต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาว่าด้วยเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งเดิมก็มีกฎหมายใช้มา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จนครั้งสุดท้ายได้มี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2543 ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน การศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวไว้ว่า ให้ผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุย่างเข้าในปีที่ 7 จะต้องส่งเด็กเข้าเรียนใน โรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่ 16 หรือเมื่อเด็กนั้นสอบได้ชั้นที่ 9 ของการศึกษาขั้นบังคับ
ตัวอย่าง เด็กชายบูม อายุ 6 ปีเศษ ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กชายบูม จะต้องส่งเข้าเรียนในโรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่16 สำหรับโรงเรียนนั้น อาจจะเป็นโรงเรียนใกล้บ้านนั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องเข้าโรงเรียนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านของตนออกไป
เมื่อนักเรียนเข้าเรียนหนังสือดังกล่าวแล้ว นักเรียนจะต้องไปเรียนและไม่ขาดเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากเหตุผลอันสมควรเกิน 7 วัน ติดต่อกันใน 1 เดือน ถ้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก อยากให้เด็กเข้าเรียนก่อนที่อายุจะถึงเกณฑ์เข้าเรียน เช่นอายุ 5 ปีเศษดังนี้ อาจกระทำได้โดยผู้ปกครองของเด็กนักเรียนขออนุญาตต่อคณะกรรมการ การประถมศึกษาจังหวัดในท้องที่ที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ การที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามอายุที่กำหนดไว้นั้นย่อมมีความผิดเป็นโทษทางอาญาโดยจะต้องถูกปรับตามกฎหมาย
ถ้าหากว่าเด็กยังไม่พร้อมในการเรียนหรือมีปัญหาในครอบครัว การบังคับให้เข้าเรียนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้ อาจทำให้เด็กและบิดามารดานั้นได้รับความเดือดร้อนแทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้ายกับเด็กและครอบครัวนั้นได้ ด้วยเหตุนี้เองได้มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีเหตุหรือลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนก็ให้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียน เช่น เด็กมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ เด็กต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพ ไม่มีหนมลทางเลี้ยงชีพ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน เหตุผลประการนี้ก็เป็นเรื่องที่เด็กจะต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพได้ ถ้าหากเด็กต้องเข้าโรงเรียนก็จะไม่มีใครทำมาหากินและดูแลผู้ปกครอง กรณีนี้จะต้องเป็นถึงขนาดว่าผู้ปกครองนั้นทุพลภาพไม่มีหนทางหาเลี้ยงชีพและไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน การขอยกเว้นดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองของเด็กจะต้องร้องขอต่อคณะกรรมการการศึกษาในอำเภอท้องที่ ซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่นั่นเอง

กฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ควรรู้
หน้า ๑๘ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือ สถานศึกษานั้น
“กระทำความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษา
“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
(๑) ว่ากล่าวตักเตือน
(๒) ทำทัณฑ์บน
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษ ด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรง ของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
ข้อ ๗ การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
ข้อ ๘ การทำทัณฑ์บนใช้ในu3585 กรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ สภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าว ตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
ข้อ ๙ การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนน ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๐ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิด ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

พระราชบัญญัติ
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547
• พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548

ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/borwon3.html