วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จ้างแรงงาน VS จ้างทำของ

จ้างแรงงาน VS จ้างทำของ

จ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า นายจ้าง และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ แต่มิได้มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก แต่อยู่ภายใต้ข้อตกหรือการบังคับบัญชาของนายจ้าง และลูกจ้างต้องทำงานตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง เช่น การจ้างครูมาสอนหนังสือ บริษัทต่างๆจ้างพนักงานมาทำงาน ฯ
* สัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นความตกลงในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา นอกจากแรงงานก็ได้ สินจ้างในสัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นทรัพย์สินอื่นใด โดยไม่จำกัดเพียงแค่ ในรูปเงินตราเท่านั้น และ “ลูกจ้าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึง ข้าราชการ และ ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ

จ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้รับจ้างสามารถใช้แรงงานหรือทรัพยากรอื่นใดก็ได้ โดยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก เช่น นาย ก. ว่าจ้างให้ นาย ข. ต่อเติมบ้านให้ นาย ข. จะได้รับค่าตอบแทนก็ต่อเมื่อต่อเติมบ้านให้ นาย ก. เสร็จเรียบร้อย ตามที่ตกลงกันไว้


ข้อแตกต่าง"สัญญาจ้างทำของ" กับ "สัญญาจ้างแรงงาน"
สัญาจ้างทำของ
1 คู่สัญญาเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2 ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานให้จนงานนั้นสำเร็จ
3 ถือความสำเร็จของการงานเป็นสำคัญ

4 ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินสินจ้างตามความสำเร็จของการงานที่ตกลงกัน
5 ผู้รับจ้างไม่ต้องทำงานตามคำสั่ง เพียงแต่ทำงานให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเท่านั้น
6 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดการหาเครื่องมือสำหรับใช้ทำงานและบางครั้งอาจต้องหาสัมภาระด้วย
7 ผู้รับจ้างต้องส่งมอบการงานที่ทำให้ทันเวลาต่อผู้ว่าจ้าง
8 นิติบุคคลเป็นผู้ว่าจ้างได้และเป็นผู้รับจ้างได้

สัญญาจ้างแรงงาน
1 คู่สัญญาเรียกว่า นายจ้าง กับ ลูกจ้าง
2 ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง
3 ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ
4 นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
5 ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งของนายจ้างมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้
6 ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงานเว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7 ลูกจ้างไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้นายจ้างเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้างอยู่แล้ว
8 นิติบุคคลเป็นนายจ้างได้ แต่เป็นลูกจ้างไม่ได้

วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายเกี่ยวกับการตาย

กฎหมายเกี่ยวกับการตาย
        ความตาย เป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้นจากมันไม่ว่าจะยังไงเหมือนที่พุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า " สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง " เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก
        จากละครเรื่อง Happy Birth Day เรื่องราวความรักของชายหนุ่ม เต็น และหญิงสาว เภา หลังจากที่ เภา ได้ประสบอุบัติเหตุโดยรถชน เธอได้รับการช่วยชีวิตจากแพทย์จนรอดชีวิต แต่เธอต้องกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราเธอไม่สามารถรับรู้ สื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ (สภาวะสมองตาย ) หลังจากที่เธอต้องตกอยู่ในสภาพดังกล่าว พ่อแม่ของเธอของเธอจึงยื่นขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ดึงท่อออกซิเจน หรือเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้เธอจากไปตามธรรมชาติ



        คำจำกัดความของ การตาย ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยมีการรวมถึงสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป การกำหนดดังกล่าวทำให้มีความชัดเจนมากขึ้นทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยการตาย ที่ผ่านมายังไม่มีกำหนดคำจำกัดความดังกล่าว มีเพียงประกาศแพทยสภาเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตั้งแต่ ปี  2532 ซึ่งเป็นเพียงหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ ยังคงมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายได้ เมื่อได้กำหนดไว้ในข้อบังคับแพทยสภาดังกล่าวจึงสร้างความชัดเจนขึ้นทางกฎหมายว่า ผู้ได้รับการวินิจฉัยสมองตาย คือ ผู้ตาย เหตุที่ต้องมีกำหนดเช่นนี้เนื่องจากโดยทั่วไปจะเข้าใจว่าการตายนั้นถือว่าต้องไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น แต่ข้อเท็จจริงทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยที่สมองตาย คือ ภาวะที่ไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ซึ่งมีเหตุจากสมองถูกทำลายโดยไม่สามารถแก้ไขได้นั้น แม้จะสามารถช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจได้ ทำให้ร่างกายยังคงได้รับออกซิเจนและหัวใจยังทำงานได้โดยยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถหยุดยั้งการหยุดทำงานของหัวใจได้ เนื่องจากสมอง คือ ศูนย์รวมของการควบคุมการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย เมื่อสมองตายอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมการทำงานของในเวลาไม่นาน หากยังคงให้การรักษาต่อไปมีแต่ความสิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์




        พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศบังคับใช้ไปตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว มีประเด็นหนึ่งในมาตรา 12 ที่น่าสนใจ ซึ่งกล่าวไว้ว่า
      "บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"
จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
1. สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
2. สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาล สามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย

         ดังนั้นผลดีที่เกิดกับผู้ป่วยและแพทย์จากการใช้มาตรานี้คือ ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะตกอยู่ในสภาพตายทั้งเป็น สำหรับแพทย์นั้นก็ไม่ต้องกังวลในการกระทำดังกล่าวว่าจะผิดกฎหมายแต่อย่างใด
การตายโดยเกณฑ์สมองตายนี้ ทั่วโลกยอมรับและหลายประเทศกำหนดเป็นกฎหมายอย่างชัดเจนแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=29498

วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สิทธิของผู้หญิงมาถึงแล้ว “จากนางกลายเป็นนางสาว”

สิทธิของผู้หญิงมาถึงแล้ว “จากนางกลายเป็นนางสาว”

เป็นที่รู้กันดีว่าหญิงไทยอายุครบ 15 ปีเมื่อไร ไม่เพียงไปทำบัตรประชาชนได้เท่านั้น กฎหมายยังอัพเกรดให้กลายเป็นสาวด้วย โดยให้เปลี่ยนคำนำหน้าที่เคยเป็นเด็กหญิงว่า “นางสาว”
หลังจากนั้นอาจต้องมีการเปลี่ยนอีกทีเมื่อมีสามีตามกฎหมาย โดยจะถูกเรียกขานนำหน้าชื่อเสียใหม่ให้ว่า “นาง” และยังคงเรียกเช่นนี้ตลอดไปจนขาดใจตายนั่นเลย
ดิฉันอาจถูกมองว่าเป็นพวกหัวโบราณ หรือค่อนไปทางอนุรักษ์นิยมสำหรับคนรุ่นใหม่ก็ว่ากันไป เพราะดิฉันยังเชื่ออยู่เต็มหัวใจว่า การใช้ชีวิตคู่มีองค์ประกอบสำคัญมากมายอยู่รายรอบตัว
และหนึ่งในองค์ประกอบสำคัญ ก็คือ การให้เกียรติหัวใจซึ่งกันและกัน
มิใช่เป็นการให้เกียรติ หรือเรียกร้องว่าทำไมแต่งงานแล้วต้องเปลี่ยนคำนำหน้าหรือใช้นามสกุลของใครหรือไม่ แต่เป็นการยินยอมพร้อมใจที่จะขอร่วมคู่ชีวิตเป็นหนึ่งเดียว โดยไม่ได้ยึดติดเรื่องของสัญลักษณ์..!!
ที่ผ่านมา การเปลี่ยนคำนำหน้า หรือเปลี่ยนนามสกุล มาใช้ของสามี เป็นการบอกเล่าประกาศให้เพื่อนพ้องญาติพี่น้องรับรู้ว่าคู่ของเราตัดสินใจใช้ชีวิตเป็นคู่สามีภรรยา และพร้อมจะเป็นหนึ่งเดียวของกันและกัน
และหากวันหนึ่งวันใดที่เกิดเหตุไม่สามารถประคองชีวิตสมรสให้ตลอดรอดฝั่ง หรือมีเหตุต้องแยกทางกัน ฝ่ายหญิงก็อยากที่จะกลับไปใช้นามสกุลเดิมและคำนำหน้าชื่อเหมือนเดิม เพื่อแจ้งให้เพื่อนพ้องญาติพี่น้องรับรู้ว่าตนเองได้แยกทางกับสามีแล้วเช่นกัน
แต่ตอนนี้คุณผู้หญิงทั้งหลายมีโอกาสและทางเลือกขึ้นมาใหม่ให้ชีวิตของตนเอง เพราะกฎหมายออกมาว่า หลังจากเป็น “นาง” ก็สามารถเปลี่ยนใจมาเป็น “นางสาว” กับเขาได้ใหม่
จากการดูข่าวโทรทัศน์ และอ่านหนังสือพิมพ์ จึงได้ทราบว่าผู้หญิงจำนวนมาก ที่เดินทางไปอำเภอ เพื่อไปเปลี่ยน คำนำหน้านาม ของตนเอง จาก “นาง” เป็น “นางสาว” เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้หญิงในด้านต่างๆ และให้อิสระและเสรีภาพในการกำหนด คำหน้านามได้ อย่างสมัครใจ จึงขอแสดงความยินดีกับผู้หญิงที่ ต้องการอิสระ เสรีภาพ นี่เป็นโอกาสของคุณแล้วค่ะ

พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑
ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 28 ก. ลงวันที่ 5 กุมภาพันธ์ ได้ตีพิมพ์ พระราชบัญญัติ คำนำหน้านามหญิง พ.ศ.2551 โดย
มาตรา ๑ พระราชบัญญัตินี้เรียกว่า “พระราชบัญญัติคำนำหน้านามหญิง พ.ศ. ๒๕๕๑”
มาตรา ๒ พระราชบัญญัตินี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อย ยี่สิบวันนับแต่วันประกาศ
ในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ พระราชบัญญัตินี้ไม่กระทบการใช้คำนำหน้านามหญิงเป็น อย่างอื่นตามที่มีกฎหมายบัญญัติ
มาตรา ๔ หญิงซึ่งมีอายุ ๑๕ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป และยังไม่ได้จดทะเบียนสมรสให้ใช้คำนำหน้านามว่า “นางสาว”
มาตรา ๕ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว จะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว”ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
มาตรา ๖ หญิงซึ่งจดทะเบียนสมรสแล้ว หากต่อมาการสมรสได้สิ้นสุดลงจะใช้คำนำหน้านามว่า “นาง” หรือ “นางสาว” ได้ตามความสมัครใจ โดยให้แจ้งต่อนายทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยการจดทะเบียนครอบครัว
มาตรา ๗ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์รักษาการตามพระราชบัญญัติ
ที่มา : http://www.naewna.com/news.asp?ID=94174

แต่อย่างไรก็ตามการที่ผู้หญิงจะเลือกใช้คำนำหน้า นาง หรือ นางสาว ก็ไม่ใช่เรื่องใหญ่หรืออุปสรรคในการใช้ชีวิตคู่ของคนทั้งสอง แต่อยู่ที่ความเข้าใจซึ่งกันและกัน การให้เกียรติ เชื่อมั่น และเชื่อใจในคนที่รักนี่แหละสิ่งสำคัญของการใช้ชีวิตคู่ค่ะ

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

เช่าซื้อต่างกับขายเงินผ่อน

เช่าซื้อ กรรมสิทธิในสินทรัพย์ที่เช่าซื้อกับเจ้าของ (ผู้ให้เช่าซื้อ) จนกว่าผู้เช่าซื้อจะชำระค่าเช่าซื้อคบถ้วน เพราะผู้ให้เช่าซื้อนำทรัพย์สินออกมาให้เช่าโดยมีคำมั่นสัญญาว่าจะขายเท่านั้น ดังนั้นในระหว่างยังชำระค่าเช่าซื้อไม่ครบผู้ซื้อเป็นเพียงผู้มีสิทธิครอบครองทรัพย์สินเท่านั้นไม่ใช่เจ้าของ หากผู้เช่าซื้อนำทรัพย์สินที่เช่าซื้อไปขายหรือจำนำจะมีความผิดทางอาญา
ซื้อขายเงินผ่อน กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินโอนไปยังผู้ซื้อทันที ฉะนั้นผู้ซื้อเป็นเจ้าของทรัพย์สินในทันทีแต่มีข้อตกลงเรื่องการชำระราคาผู้ขายยินยอมให้ผู้ซื้อผ่อนชำระราคาเป็นงวดๆได้
ในกรณีผู้เช่าซื้อกระทำผิดสัญญาเพราะไม่ใช่เงินคราวสุดท้ายเจ้าของทรัพย์ (ผู้ให้เช่าซื้อ) มีสิทธิอย่างไร?
กรณีตัวอย่าง
นาย ก. เช่าซื้อรถจากนาย ข. เป็นเงิน 60,000 บาท ตกลงผ่อนชำระค่าเช่าเป็นรายเดือน ทุกๆเดือน เงินเดือนละ 5,000 บาท รวม 12 เดือน นาย ก. ชำระค่าเช่า 11 เดือน ติดต่อกัน เป็นเงิน 55,000 บาท แล้ว นาย ก. ผิดนัดไม่ชำระค่าเช่าซื้อในเดือนสุดท้าย เป็นเงิน 5,000 บาท นาย ข.จะมีสิทธิอย่างไรบ้าง ?
จากกรณีตัวอย่าง
นาย ข. เจ้าของรถยนต์มีสิทธิริบเงินค่าเช่าซื้อรวม 11 เดือนที่ นาย ก. ได้ใช้มาแล้ว เป็นเงิน 55,000 บาท ได้ และมีสิทธิยึดรถยนต์คืนต่อเมื่อระยะเวลาใช้เงินได้พ้นกำหนดไปอีกงวดหนึ่งแล้ว กล่าวคือ นาย ข. จะยึดรถยนต์คืนได้ต่อเมื่อพ้นเดือนที่ 13 แล้ว

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ
การให้ประชาชนมีความรู้ความศึกษานั้น เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องกระทำ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้ให้สิทธิสำหรับคนพิการ คนด้อยโอกาส หรือผู้มีความสามารถพิเศษ มีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษอีกด้วย ดังนั้นรัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนเอกชน จัดการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะว่าการให้มีความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนที่เริ่มต้นศึกษาเล่าเรียน เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ย่อมเป็นบันไดไปสู่อาชีพต่าง ๆ ที่นักเรียนจะสามารถขวนขวายศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการโดยไม่ต้องให้นักเรียนหรือบิดามารดาต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาว่าด้วยเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งเดิมก็มีกฎหมายใช้มา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จนครั้งสุดท้ายได้มี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2543 ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน การศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวไว้ว่า ให้ผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุย่างเข้าในปีที่ 7 จะต้องส่งเด็กเข้าเรียนใน โรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่ 16 หรือเมื่อเด็กนั้นสอบได้ชั้นที่ 9 ของการศึกษาขั้นบังคับ
ตัวอย่าง เด็กชายบูม อายุ 6 ปีเศษ ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กชายบูม จะต้องส่งเข้าเรียนในโรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่16 สำหรับโรงเรียนนั้น อาจจะเป็นโรงเรียนใกล้บ้านนั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องเข้าโรงเรียนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านของตนออกไป
เมื่อนักเรียนเข้าเรียนหนังสือดังกล่าวแล้ว นักเรียนจะต้องไปเรียนและไม่ขาดเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากเหตุผลอันสมควรเกิน 7 วัน ติดต่อกันใน 1 เดือน ถ้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก อยากให้เด็กเข้าเรียนก่อนที่อายุจะถึงเกณฑ์เข้าเรียน เช่นอายุ 5 ปีเศษดังนี้ อาจกระทำได้โดยผู้ปกครองของเด็กนักเรียนขออนุญาตต่อคณะกรรมการ การประถมศึกษาจังหวัดในท้องที่ที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ การที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามอายุที่กำหนดไว้นั้นย่อมมีความผิดเป็นโทษทางอาญาโดยจะต้องถูกปรับตามกฎหมาย
ถ้าหากว่าเด็กยังไม่พร้อมในการเรียนหรือมีปัญหาในครอบครัว การบังคับให้เข้าเรียนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้ อาจทำให้เด็กและบิดามารดานั้นได้รับความเดือดร้อนแทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้ายกับเด็กและครอบครัวนั้นได้ ด้วยเหตุนี้เองได้มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีเหตุหรือลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนก็ให้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียน เช่น เด็กมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ เด็กต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพ ไม่มีหนมลทางเลี้ยงชีพ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน เหตุผลประการนี้ก็เป็นเรื่องที่เด็กจะต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพได้ ถ้าหากเด็กต้องเข้าโรงเรียนก็จะไม่มีใครทำมาหากินและดูแลผู้ปกครอง กรณีนี้จะต้องเป็นถึงขนาดว่าผู้ปกครองนั้นทุพลภาพไม่มีหนทางหาเลี้ยงชีพและไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน การขอยกเว้นดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองของเด็กจะต้องร้องขอต่อคณะกรรมการการศึกษาในอำเภอท้องที่ ซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่นั่นเอง

กฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ควรรู้
หน้า ๑๘ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือ สถานศึกษานั้น
“กระทำความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษา
“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
(๑) ว่ากล่าวตักเตือน
(๒) ทำทัณฑ์บน
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษ ด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรง ของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
ข้อ ๗ การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
ข้อ ๘ การทำทัณฑ์บนใช้ในu3585 กรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ สภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าว ตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
ข้อ ๙ การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนน ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๐ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิด ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

พระราชบัญญัติ
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547
• พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548

ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/borwon3.html