วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ

กฎหมายเกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ
การให้ประชาชนมีความรู้ความศึกษานั้น เป็นหน้าที่ของรัฐที่ต้องกระทำ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้ระบุไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี ที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย นอกจากนี้ยังได้ให้สิทธิสำหรับคนพิการ คนด้อยโอกาส หรือผู้มีความสามารถพิเศษ มีโอกาสได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษอีกด้วย ดังนั้นรัฐจะต้องจัดการศึกษาและสนับสนุนเอกชน จัดการศึกษาโดยเฉพาะการศึกษาขั้นพื้นฐานโดยไม่ได้เก็บค่าใช้จ่ายใด ๆ เพราะว่าการให้มีความรู้นั้นเป็นประโยชน์แก่ประชาชน ทำให้ประชาชนมีคุณภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กนักเรียนที่เริ่มต้นศึกษาเล่าเรียน เมื่ออ่านออกเขียนได้แล้ว ย่อมเป็นบันไดไปสู่อาชีพต่าง ๆ ที่นักเรียนจะสามารถขวนขวายศึกษาเล่าเรียนได้ด้วยตนเองด้วยเหตุนี้ การจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้นักเรียนจึงเป็นหน้าที่ของรัฐที่จะต้องดำเนินการโดยไม่ต้องให้นักเรียนหรือบิดามารดาต้องเสียค่าใช้จ่ายใด ๆ
ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีกฎหมายขึ้นมาว่าด้วยเรื่องนี้โดยตรง ซึ่งเดิมก็มีกฎหมายใช้มา และมีการแก้ไขเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จนครั้งสุดท้ายได้มี พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2543 ใช้บังคับมาตั้งแต่วันที่ 20 สิงหาคม 2542 จนกระทั่งปัจจุบัน การศึกษาขั้นพื้นฐานกล่าวไว้ว่า ให้ผู้ปกครองของเด็กที่มีอายุย่างเข้าในปีที่ 7 จะต้องส่งเด็กเข้าเรียนใน โรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่ 16 หรือเมื่อเด็กนั้นสอบได้ชั้นที่ 9 ของการศึกษาขั้นบังคับ
ตัวอย่าง เด็กชายบูม อายุ 6 ปีเศษ ดังนั้นผู้ปกครองของเด็กชายบูม จะต้องส่งเข้าเรียนในโรงเรียนจนกว่าเขาจะมีอายุย่างเข้าปีที่16 สำหรับโรงเรียนนั้น อาจจะเป็นโรงเรียนใกล้บ้านนั้นเอง ไม่จำเป็นจะต้องเข้าโรงเรียนอื่น ๆ ซึ่งอยู่ห่างจากหมู่บ้านของตนออกไป
เมื่อนักเรียนเข้าเรียนหนังสือดังกล่าวแล้ว นักเรียนจะต้องไปเรียนและไม่ขาดเรียนโดยไม่ได้รับอนุญาต หรือปราศจากเหตุผลอันสมควรเกิน 7 วัน ติดต่อกันใน 1 เดือน ถ้าบิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็ก อยากให้เด็กเข้าเรียนก่อนที่อายุจะถึงเกณฑ์เข้าเรียน เช่นอายุ 5 ปีเศษดังนี้ อาจกระทำได้โดยผู้ปกครองของเด็กนักเรียนขออนุญาตต่อคณะกรรมการ การประถมศึกษาจังหวัดในท้องที่ที่นักเรียนมีภูมิลำเนาอยู่ การที่บิดามารดาหรือผู้ปกครองของเด็กไม่ส่งเด็กเข้าเรียนตามอายุที่กำหนดไว้นั้นย่อมมีความผิดเป็นโทษทางอาญาโดยจะต้องถูกปรับตามกฎหมาย
ถ้าหากว่าเด็กยังไม่พร้อมในการเรียนหรือมีปัญหาในครอบครัว การบังคับให้เข้าเรียนโดยไม่มีข้อยกเว้นให้ อาจทำให้เด็กและบิดามารดานั้นได้รับความเดือดร้อนแทนที่จะเป็นผลดีกลับเป็นผลร้ายกับเด็กและครอบครัวนั้นได้ ด้วยเหตุนี้เองได้มีข้อยกเว้นไว้ว่าหากมีเหตุหรือลักษณะที่เป็นอุปสรรคต่อการศึกษาเล่าเรียนก็ให้ได้รับ
การยกเว้นไม่ต้องเข้าเรียนในโรงเรียน เช่น เด็กมีความบกพร่องทางร่างกายหรือจิตใจ เด็กต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพ ไม่มีหนมลทางเลี้ยงชีพ และไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน เหตุผลประการนี้ก็เป็นเรื่องที่เด็กจะต้องหาเลี้ยงผู้ปกครองซึ่งทุพลภาพได้ ถ้าหากเด็กต้องเข้าโรงเรียนก็จะไม่มีใครทำมาหากินและดูแลผู้ปกครอง กรณีนี้จะต้องเป็นถึงขนาดว่าผู้ปกครองนั้นทุพลภาพไม่มีหนทางหาเลี้ยงชีพและไม่มีผู้อื่นเลี้ยงดูแทน การขอยกเว้นดังกล่าวนี้เป็นเรื่องที่ผู้ปกครองของเด็กจะต้องร้องขอต่อคณะกรรมการการศึกษาในอำเภอท้องที่ ซึ่งตนมีภูมิลำเนาอยู่นั่นเอง

กฎหมายเกี่ยวกับการลงโทษนักเรียนนักศึกษาที่ควรรู้
หน้า ๑๘ เล่ม ๑๒๒ ตอนพิเศษ ๓๕ ง ราชกิจจานุเบกษา ๒๖ เมษายน ๒๕๔๘
ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๖๕ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. ๒๕๔๖
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ จึงวางระเบียบว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษาไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ ๑ ระเบียบนี้เรียกว่า “ระเบียบกระทรวงศึกษาธิการ ว่าด้วยการลงโทษนักเรียนและนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๘”
ข้อ ๒ ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ ๓ ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงศึกษาธิการว่าด้วยการลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษา พ.ศ. ๒๕๔๓
ข้อ ๔ ในระเบียบนี้ “ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา” หมายความว่า ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ อธิการบดี หรือหัวหน้าของโรงเรียนหรือสถานศึกษาหรือตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่นของโรงเรียนหรือ สถานศึกษานั้น
“กระทำความผิด” หมายความว่า การที่นักเรียนหรือนักศึกษาประพฤติฝ่าฝืนระเบียบ ข้อบังคับของสถานศึกษา หรือของกระทรวงศึกษาธิการ หรือกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤติของนักเรียน และนักศึกษา
“การลงโทษ” หมายความว่า การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด โดยมีความมุ่งหมายเพื่อการอบรมสั่งสอน
ข้อ ๕ โทษที่จะลงโทษแก่นักเรียนหรือนักศึกษาที่กระทำความผิด มี ๔ สถาน ดังนี้
(๑) ว่ากล่าวตักเตือน
(๒) ทำทัณฑ์บน
(๓) ตัดคะแนนความประพฤติ
(๔) ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
ข้อ ๖ ห้ามลงโทษนักเรียนและนักศึกษาด้วยวิธีรุนแรง หรือแบบกลั่นแกล้ง หรือลงโทษ ด้วยความโกรธ หรือด้วยความพยาบาท โดยให้คำนึงถึงอายุของนักเรียนหรือนักศึกษา และความร้ายแรง ของพฤติการณ์ประกอบการลงโทษด้วย
การลงโทษนักเรียนหรือนักศึกษาให้เป็นไปเพื่อเจตนาที่จะแก้นิสัยและความประพฤติไม่ดี ของนักเรียนหรือนักศึกษาให้รู้สำนึกในความผิด และกลับประพฤติตนในทางที่ดีต่อไป
ให้ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษา หรือผู้ที่ผู้บริหารโรงเรียนหรือสถานศึกษามอบหมาย เป็นผู้มีอำนาจในการลงโทษนักเรียน นักศึกษา
ข้อ ๗ การว่ากล่าวตักเตือน ใช้ในกรณีนักเรียนหรือนักศึกษากระทำความผิดไม่ร้ายแรง
ข้อ ๘ การทำทัณฑ์บนใช้ในu3585 กรณีนักเรียนหรือนักศึกษาที่ประพฤติตนไม่เหมาะสมกับ สภาพนักเรียนหรือนักศึกษา ตามกฎกระทรวงว่าด้วยความประพฤตินักเรียนและนักศึกษา หรือกรณีทำให้ เสื่อมเสียชื่อเสียงและเกียรติศักดิ์ของสถานศึกษา หรือฝ่าฝืนระเบียบของสถานศึกษา หรือได้รับโทษว่ากล่าว ตักเตือนแล้ว แต่ยังไม่เข็ดหลาบ
การทำทัณฑ์บนให้ทำเป็นหนังสือ และเชิญบิดามารดาหรือผู้ปกครองมาบันทึกรับทราบความผิด และรับรองการทำทัณฑ์บนไว้ด้วย
ข้อ ๙ การตัดคะแนนความประพฤติ ให้เป็นไปตามระเบียบปฏิบัติว่าด้วยการตัดคะแนน ความประพฤตินักเรียนและนักศึกษาของแต่ละสถานศึกษากำหนด และให้ทำบันทึกข้อมูลไว้เป็นหลักฐาน
ข้อ ๑๐ ทำกิจกรรมเพื่อให้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ใช้ในกรณีที่นักเรียนและนักศึกษากระทำความผิด ที่สมควรต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม
การจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามแนวทางที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด
ข้อ ๑๑ ให้ปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาการให้เป็นไปตามระเบียบนี้และให้มีอำนาจตีความ และวินิจฉัยปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติตามระเบียบนี้

พระราชบัญญัติ
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542
• พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.ศ. 2545
• พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกระทรวงศึกษาธิการ พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติสถาบันอุดมศึกษาเอกชน พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฎ พ.ศ. 2547
• พระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ. 2546
• พระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ.2546
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติสถาบันเทคโนโลยีปทุมวัน พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (ฉบับที่ 22) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือน เงินวิทยฐานะ และเงินประจำตำแหน่งข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 4) พ.ศ.2547
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันการพลศึกษา พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์ พ.ศ.2548
• พระราชบัญญัติสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2548
พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยนครพนม พ.ศ. 2548

ที่มา http://school.obec.go.th/sup_br3/borwon3.html

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น