วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

ยืมใช้คงรูป

ยืมใช้คงรูป

        สัญญายืมใช้คงรูปนั้นลักษณะของการใช้ทรัพย์มิได้สิ้นเปลืองหมดไป หรือเสียภาวะเสื่อมสลายไป สัญญายืมใช้คงรูปจึงไม่มีการโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์ให้แก่ผู้ยืม และผู้ยืมต้องคืนทรัพย์อันเดียวกับที่ยืมไปนั้นให้แก่ผู้ให้ยืมเมื่อได้ใช้สอยทรัพย์นั้นเสร็จสิ้นแล้ว
1. สัญญายืมใช้คงรูปมีลักษณะเฉพาะอันเป็นสาระสำคัญนอกเหนือไปจากลักษณะทั่วไป ของสัญญายืม เป็นสัญญาไม่มีค่าตอบแทน และไม่โอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ยืม วัตถุแห่งสัญญายืมใช้คงรูปเป็นทรัพย์เฉพาะสิ่งซึ่งไม่อาจใช้ของอื่นแทนได้

2. ผู้ยืมใช้คงรูปมีสิทธิใช้สอยทรัพย์สินที่ยืมตามสัญญา และมีสิทธิต่อบุคคลภายนอกในฐานะเป็นผู้ครอบครองทรัพย์สิน แต่ก็มีหน้าที่จะต้องเสียค่าใช้จ่ายใช้ทรัพย์สินโดยชอบ ต้องสงวนรักษาทรัพย์สินเช่นวิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องส่งคืนทรัพย์สินอันเดียวกันที่ยืมไปเมื่อถึงกำหนดเวลาต้องส่งคืน

3. ผู้ให้ยืมใช้คงรูปมีสิทธิบอกเลิกสัญญาและเรียกทรัพย์สินคืนจากผู้ยืม เมื่อครบกำหนดเวลายืมหรือ เมื่อผู้ยืมปฏิบัติผิดหน้าที่ในการใช้หรือสงวนรักษาทรัพย์สิน และมีสิทธิเรียกค่าตอบแทนในความเสียหายที่เกิดแก่ทรัพย์สินเนื่องจากความผิดของผู้ยืม แต่ก็มีหน้าที่ไม่ขัดขวางการใช้ทรัพย์สินของผู้ยืมตามสัญญาและรับผลแห่งภัยพิบัติในทรัพย์สินนั้นเองหากเกิดความเสียหายขึ้นโดยมิใช่ความผิดของผู้ยืม

ตัวอย่าง
          ดำให้แดงยืมรถไปทำธุระเป็นเวลา 10 วัน เมื่อครบกำหนด 10 วันแล้ว แดงเกิดมีธุระจะต้องไปทำต่ออีก 5 วัน จึงขับรถต่อไปทำธุระที่นครศรีธรรมราช หลังจากนั้นจึงขับรถกลับกรุงเทพฯ ระหว่างนั้นมีฝนตกพายุพัดอย่างหนัก แดงไม่สามารถจะขับรถหนีไปได้ จึงต้องจอดรถรออยู่ข้างทางจนกระทั่งพายุสงบเป็นเหตุให้รถยนต์ของดำต้องแช่น้ำอยู่หลายชั่วโมง ทำให้เครื่องยนต์เสียหายต้องซ่อมแซมเป็นเงิน 3,000 บาท ดำจะเรียกค่าซ่อมแซมจากแดงได้หรือไม่


           ตามอุทธาหรณ์เป็นการยืมใช้คงรูป แดงต้องคืนทรัพย์ คือรถยนต์นั้นเมื่อครบกำหนด 10วัน การที่แดงเอารถไปใช้ที่นครศรีธรรมราชอีก 7วัน เป็นการเอาทรัพย์ที่ยืมไว้นานกว่าที่ควรจะเอาไว้ เป็นการฝ่าฝืนมาตรา 643 เมื่อรถเกิดเสียหายในระหว่างที่แดงใช้รถโดยมิชอบ แม้จะเป็นด้วยเหตุสุดวิสัย แดงก็ต้องรับผิดชอบชดใช้ค่าซ่อมแซมรถดังกล่าวให้แก่ดำ


1 ความคิดเห็น: