วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552

จ้างแรงงาน VS จ้างทำของ

จ้างแรงงาน VS จ้างทำของ

จ้างแรงงาน คือ สัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งที่เรียกว่า ลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่ บุคคลอีกคนหนึ่งที่เรียกว่า นายจ้าง และ นายจ้างตกลงจะให้สินจ้างแก่ลูกจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้ แต่มิได้มุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก แต่อยู่ภายใต้ข้อตกหรือการบังคับบัญชาของนายจ้าง และลูกจ้างต้องทำงานตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง เช่น การจ้างครูมาสอนหนังสือ บริษัทต่างๆจ้างพนักงานมาทำงาน ฯ
* สัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นความตกลงในการทำงานที่ต้องใช้สติปัญญา นอกจากแรงงานก็ได้ สินจ้างในสัญญาจ้างแรงงานอาจเป็นทรัพย์สินอื่นใด โดยไม่จำกัดเพียงแค่ ในรูปเงินตราเท่านั้น และ “ลูกจ้าง” ในที่นี้ไม่ได้หมายความรวมถึง ข้าราชการ และ ลูกจ้างของกระทรวง ทบวง กรม ซึ่งมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นพิเศษ

จ้างทำของ คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงรับจะทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จ ให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง ซึ่งผู้รับจ้างสามารถใช้แรงงานหรือทรัพยากรอื่นใดก็ได้ โดยมุ่งถึงผลสำเร็จของงานเป็นหลัก เช่น นาย ก. ว่าจ้างให้ นาย ข. ต่อเติมบ้านให้ นาย ข. จะได้รับค่าตอบแทนก็ต่อเมื่อต่อเติมบ้านให้ นาย ก. เสร็จเรียบร้อย ตามที่ตกลงกันไว้


ข้อแตกต่าง"สัญญาจ้างทำของ" กับ "สัญญาจ้างแรงงาน"
สัญาจ้างทำของ
1 คู่สัญญาเรียกว่า ผู้ว่าจ้าง กับ ผู้รับจ้าง
2 ผู้รับจ้างตกลงรับจะทำการงานให้จนงานนั้นสำเร็จ
3 ถือความสำเร็จของการงานเป็นสำคัญ

4 ผู้ว่าจ้างต้องจ่ายเงินสินจ้างตามความสำเร็จของการงานที่ตกลงกัน
5 ผู้รับจ้างไม่ต้องทำงานตามคำสั่ง เพียงแต่ทำงานให้เสร็จเรียบร้อยตามสัญญาเท่านั้น
6 ผู้รับจ้างเป็นผู้จัดการหาเครื่องมือสำหรับใช้ทำงานและบางครั้งอาจต้องหาสัมภาระด้วย
7 ผู้รับจ้างต้องส่งมอบการงานที่ทำให้ทันเวลาต่อผู้ว่าจ้าง
8 นิติบุคคลเป็นผู้ว่าจ้างได้และเป็นผู้รับจ้างได้

สัญญาจ้างแรงงาน
1 คู่สัญญาเรียกว่า นายจ้าง กับ ลูกจ้าง
2 ลูกจ้างตกลงจะทำงานให้ตลอดไปจนกว่าจะเลิกจ้าง
3 ถือระยะเวลาที่ทำงานให้เป็นสำคัญ
4 นายจ้างต้องจ่ายสินจ้างหรือค่าจ้างให้ตลอดเวลาที่ลูกจ้างทำงานให้
5 ลูกจ้างต้องทำงานตามคำสั่งของนายจ้างมีการควบคุมบังคับบัญชากันได้
6 ลูกจ้างไม่ต้องจัดหาเครื่องมือ หรือสัมภาระในการทำงานเว้นแต่มีข้อตกลงพิเศษ
7 ลูกจ้างไม่ต้องส่งมอบงานที่ทำให้นายจ้างเพราะอยู่ในความควบคุมดูแลของนายจ้างอยู่แล้ว
8 นิติบุคคลเป็นนายจ้างได้ แต่เป็นลูกจ้างไม่ได้

3 ความคิดเห็น:

  1. ชอบที่มีหลักกฎหมายดีมาเล่าสู่กันค่ะ อยากขอแนวการวิเคราะห์อีกนิดนึง

    ตอบลบ
  2. ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ

    ตอบลบ
  3. วิเคราะห์พร้อมยกตัวอย่างอีกนิด

    ตอบลบ