วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552

กฎหมายเกี่ยวกับการตาย

กฎหมายเกี่ยวกับการตาย
        ความตาย เป็นสิ่งที่เราหนีไม่พ้นจากมันไม่ว่าจะยังไงเหมือนที่พุทธเจ้าได้กล่าวไว้ว่า " สังขารเป็นสิ่งไม่เที่ยง " เกิด แก่ เจ็บ ตาย เป็นเรื่องธรรมดาของมนุษย์โลก
        จากละครเรื่อง Happy Birth Day เรื่องราวความรักของชายหนุ่ม เต็น และหญิงสาว เภา หลังจากที่ เภา ได้ประสบอุบัติเหตุโดยรถชน เธอได้รับการช่วยชีวิตจากแพทย์จนรอดชีวิต แต่เธอต้องกลายเป็นเจ้าหญิงนิทราเธอไม่สามารถรับรู้ สื่อสารและช่วยเหลือตัวเองได้ (สภาวะสมองตาย ) หลังจากที่เธอต้องตกอยู่ในสภาพดังกล่าว พ่อแม่ของเธอของเธอจึงยื่นขอต่อศาลเพื่อให้ศาลสั่งให้ดึงท่อออกซิเจน หรือเครื่องช่วยหายใจ เพื่อให้เธอจากไปตามธรรมชาติ



        คำจำกัดความของ การตาย ในข้อบังคับแพทยสภาว่าด้วยการรักษาจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยมีการรวมถึงสภาวะสมองตาย คือ การที่แกนสมองถูกทำลายจนสิ้นสุดการทำงานโดยสิ้นเชิงตลอดไป การกำหนดดังกล่าวทำให้มีความชัดเจนมากขึ้นทางกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายกำหนดว่าแพทย์เป็นผู้วินิจฉัยการตาย ที่ผ่านมายังไม่มีกำหนดคำจำกัดความดังกล่าว มีเพียงประกาศแพทยสภาเรื่องเกณฑ์การวินิจฉัยสมองตายตั้งแต่ ปี  2532 ซึ่งเป็นเพียงหลักเกณฑ์ทางการแพทย์ ยังคงมีข้อโต้แย้งทางกฎหมายได้ เมื่อได้กำหนดไว้ในข้อบังคับแพทยสภาดังกล่าวจึงสร้างความชัดเจนขึ้นทางกฎหมายว่า ผู้ได้รับการวินิจฉัยสมองตาย คือ ผู้ตาย เหตุที่ต้องมีกำหนดเช่นนี้เนื่องจากโดยทั่วไปจะเข้าใจว่าการตายนั้นถือว่าต้องไม่หายใจและหัวใจหยุดเต้น แต่ข้อเท็จจริงทางการแพทย์พบว่าผู้ป่วยที่สมองตาย คือ ภาวะที่ไม่รู้สึกตัวและไม่หายใจ ซึ่งมีเหตุจากสมองถูกทำลายโดยไม่สามารถแก้ไขได้นั้น แม้จะสามารถช่วยการหายใจด้วยเครื่องช่วยหายใจได้ ทำให้ร่างกายยังคงได้รับออกซิเจนและหัวใจยังทำงานได้โดยยากระตุ้นการทำงานของหัวใจ แต่ในที่สุดก็ไม่สามารถหยุดยั้งการหยุดทำงานของหัวใจได้ เนื่องจากสมอง คือ ศูนย์รวมของการควบคุมการทำงานของทุกอวัยวะในร่างกาย เมื่อสมองตายอวัยวะต่างๆ จะเสื่อมการทำงานของในเวลาไม่นาน หากยังคงให้การรักษาต่อไปมีแต่ความสิ้นเปลืองโดยไร้ประโยชน์




        พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ที่มีการประกาศบังคับใช้ไปตั้งแต่เดือนมีนาคมที่ผ่านมาแล้ว มีประเด็นหนึ่งในมาตรา 12 ที่น่าสนใจ ซึ่งกล่าวไว้ว่า
      "บุคคลมีสิทธิทำหนังสือแสดงเจตนาไม่ประสงค์จะรับบริการสาธารณสุขที่เป็นไปเพียงเพื่อยืดการตายในวาระสุดท้ายของชีวิตตน หรือเพื่อยุติการทรมานจากการเจ็บป่วยได้
การดำเนินการตามหนังสือแสดงเจตนาตามวรรคหนึ่ง ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่ กำหนดในกฎกระทรวง เมื่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขได้ปฏิบัติตามเจตนาของบุคคลตามวรรคหนึ่งแล้วมิให้ถือว่าการกระทำนั้นเป็นความผิดและให้พ้นจากความรับผิดทั้งปวง"
จะเห็นได้ว่ามาตรานี้ ทำให้เกิดสิทธิขึ้น 2 อย่างด้วยกัน คือ
1. สิทธิการตาย - เป็นเจตจำนงของผู้ป่วยเองโดยตรงที่จะตาย (อย่างมีศักดิ์ศรี?)
2. สิทธิที่จะฆ่า - ทำให้ผู้ประกอบวิชาชีพด้านสาธารณสุขเช่น แพทย์หรือพยาบาล สามารถละเว้นการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโดยไม่ผิดกฎหมาย

         ดังนั้นผลดีที่เกิดกับผู้ป่วยและแพทย์จากการใช้มาตรานี้คือ ผู้ป่วยไม่ต้องกังวลว่าจะตกอยู่ในสภาพตายทั้งเป็น สำหรับแพทย์นั้นก็ไม่ต้องกังวลในการกระทำดังกล่าวว่าจะผิดกฎหมายแต่อย่างใด
การตายโดยเกณฑ์สมองตายนี้ ทั่วโลกยอมรับและหลายประเทศกำหนดเป็นกฎหมายอย่างชัดเจนแล้ว

ขอบคุณข้อมูลจาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=29498

2 ความคิดเห็น:

  1. OH !น่าสนใจมากเลยค่ะ เป็นความก้าวหน้าทางกฎหมายที่เราได้นำมาแลกเปลี่ยนกัน

    ตอบลบ
  2. Number one
    แถมยังเขียนได้ดีอีก

    ตอบลบ